วันศุกร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2557

อินถวา



อินถวานางฟ้าแห่งวังสามหมอ
ตำนานพื้นบ้านแต่ละตำนานของภาคอีสาน ซึ่งบรรพบุรุษได้ผูกเรื่องแต่งขึ้นไว้เป็นหลักฐาน เพื่อให้คนรุ่นหลังได้ฟังจากการเล่าของผู้เฒ่าคนแก่ที่เป็น ปราชญ์หมู่บ้าน บ้าง อ่านจากหนังสือผูกที่เก็บไว้ในวัดบ้าง หรือชม หมอลำเรื่องที่แสดงกันอยู่บนเวทีกลางแจ้งบ้าง นอกจากจะท าให้เกิดความสนุกสนาน เกิดความสงสาร และเกิดความสะใจในเนื้อเรื่องบางตอนแล้ว ยังเป็นวรรณกรรมที่แฝงไว้ด้วยคุณธรรมและจริยธรรม สอนให้ผู้คนทั้งหลายประกอบแต่กรรมดี ละเว้นกรรมชั่ว ทั้งสิ้น
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว เจ้าเมืองเชียงสม เชียงสา มีธิดาอยู่องค์หนึ่งนามว่า นางอินถวา ซึ่งนอกจากจะมีรูปร่างสิริโฉมงดงาม เปล่งปลั่งแล้ว จิตใจของนางยังเปี่ยมล้นด้วยความเมตตากรุณา และในกาลครั้งนั้นนางยังอยู่ในวัยเด็ก ได้ลูกจระเข้ตัวหนึ่งมาเลี้ยงไว้ในโอ่งน้ า เช้า-เย็นเธอก็จะนำเอาอาหารไปป้อนจระเข้ทุกวัน เมื่อจระเข้เติบโตขึ้นมา นางอินถวา ก็น าเอาไปปล่อยลงในสระน้ าเลี้ยงไว้ข้างคุ้มเจ้าเมือง วันเวลาได้ล่วงเลยมาจนกระทั่งเธอมีอายุได้ ๑๖ ปี หรือวัยเต็มสาว เธอก็มีสิริโฉมงดงาม เปล่งปลั่ง เป็นที่หมายปองของเจ้าชายผู้ครองหัวเมืองน้อยใหญ่ทั่วไป แต่ความผูกพันของนางกับจระเข้ก็ยังมีความแน่นแฟ้นต่อกันอยู่เสมอ เธอออกไปหาจระเข้และขี่หลังเพื่อหยอกเอิน อาบน้ า ชำระร่างกาย และเก็บดอกบัวขึ้นไป
บูชาพระเป็นประจำทุกวัน
ตกเย็นวันหนึ่ง นางอินถวา ได้ขี่หลังเจ้าจระเข้ยักษ์ลงอาบน้ าในสระด้วยความส าราญใจ ขณะที่เธอกำลังสระผมอยู่นั้น หวีได้หลุดจากมือตกลงไปในน้ า นางก็ใช้คว้าตาม จึงเป็นเหตุให้นางพลัดตกจากหลังจระเข้ลงไปในน้ าด้วย จระเข้ใหญ่เห็นเช่นนั้น ก็เกรงว่านางผู้มีพระคุณจะจมน้ าตาย เพราะคิดว่าเธอว่ายน้าไม่เป็น จึงพุ่งตัวเข้าไปใช้ปากคาบเอานางไว้
อาจจะเป็นเวรกรรมแต่ชาติปางก่อน ตามธรรมชาติของจระเข้แล้ว มีขากรรไกรข้างบนเพียงด้านเดียว เมื่อมันงับหรือคาบอะไรไว้แล้ว ต้องกลืนลงท้องทุกรายไปก่อนจึงจะอ้าปากได้อีก เมื่อเป็นเช่นนี้เจ้าชาละวันใหญ่จึงกลืนนางลงท้องไป และมันก็ไม่สามารถขย้อนหรือสารอกเอานางออกมาได้ จนกระทั่งนางถึงแก่ความตายในท้องของมัน ด้วยความกลัวต่ออาญาแผ่นดินในคดีฆ่าและกินผู้มีพระคุณเป็นอาหาร เจ้าจระเข้ยักษ์จึงตัดสินใจหลบหนีจากสระในคุ้มเจ้าเมือง ไปอาศัยน้ำปาววังน้ำใหญ่เป็นที่อาศัยหลบซ่อนตัว
เมื่อเรื่องราวต่าง ๆ ทราบถึงเจ้าเมือง ผู้เป็นบิดาของนางอินถวา ว่า ลูกสาวได้หายไปพร้อมกับจระเข้จึงมั่นใจว่า ลูกสาวต้องถูกเจ้าจระเข้คาบไปกินแล้วอย่างแน่นอน จึงสั่งให้
อามาตย์ เสนา น้อยใหญ่ออกติดตาม โดยแกะรอยเท้าจระเข้จากสระน้ าข้างคุ้มเจ้าเมืองไปจนถึงป่าแล้วหายไปในวังน้ำใหญ่ เจ้าเมืองจึงสั่งล้อมวังน้ำใหญ่นี้เอาไว้ ประกาศหาคนดีมีวิชาหรือ หมอจระเข้มาปราบให้ได้ต่อมาไม่กี่วันได้มี หมอจระเข้มาปราบเจ้าชาละวันตัวใหญ่ ซี่งหมอปราบจระเข้ ๒ คนแรกเป็นชายผู้ขมังเวทย์ แต่ในที่สุดวิชาอาคมสู้เจ้าจระเข้ไม่ได้ จึงท าให้หมอจระเข้ทั้ง ๒ คน กลายเป็นอาหารอันโอชะของมันไป และอีกไม่กี่วันต่อมาหมอจระเข้คนที่ ๓ ซึ่งเป็นผู้หญิงก็อาสาสมัครเข้ามาปราบเจ้าชาละวันตัวเก่ง และเธอก็ใช้วิชาอาคมพร้อมทั้งไหวหริบปฏิภาณอันเยี่ยมยอดเข้าปราบจระเข้ตัวนี้จนสำเร็จ
เมื่อจัดการผ่าท้องจระเข้ออก ก็ได้พบศพหมอจระเข้ ๒ คน รวมทั้งศพนางอินถวา ซึ่งยังมีเป็นบางส่วนหลงเหลืออยู่ เจ้าเมืองผู้เป็นบิดามีความเศร้าโศกเสียใจเป็นอย่างยิ่ง ได้สั่งให้จัดการท าบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้หมอจระเข้ ๒ คน พร้อมประกาศชื่อวังน้ าใหญ่แห่งนี้ว่า วังสามหมอมาตั้งแต่บัดนั้น และวังสามหมอแห่งนั้น ก็กลายมาเป็นอำเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี ในปัจจุบัน
ส่วนศพของลูกสาวนั้น เจ้าเมืองผู้เป็นบิดาได้ให้นำไปฝังไว้ที่ข้างคุ้มเจ้าเมือง และต่อมาไม่นานนักสถานที่ฝังศพของลูกสาวเจ้าเมืองก็มีต้นไม้ต้นหนึ่ง มีดอกสีขาว สวยงามมากเกิดขึ้นมา เจ้าเมืองคงคิดถึงลูกสาวมาก จึงตั้งชื่อต้นไม้ต้นนั้นว่า อินถวามาตั้งแต่บัดนั้น
ต่อมา ต้นอินถวาซึ่งมีดอกขาว ได้มีการปลูกกันแพร่หลายในภาคอีสาน และต่อมาได้แพร่พันธุ์ไปยังภาคกลางและภาคอื่น ๆ ของประเทศไทย และต้นอินถวานี้ในต าราพืช เรียกว่า ต้นพุทธซ้อนเป็นไม้ดอกที่ปลูกง่ายและปลูกได้ทุกเขตของดินฟ้าอากาศ และต้นไม้ชนิดนี้ มีชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษเรียกว่า ต้น คาดิเนียอีกด้วย
เอกสารอ้างอิง :
วัฒนา ช้างรักษา. ต านานพื้นบ้าน : อินถวานางฟ้าแห่งวังสามหมอ. อุดรธานี: ไอโอนิคเพรส, ๒๕๔๑. นิทานเรื่อง นางอินถวาอ าเภอวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี ปี พ.ศ.๒๕๒๙

…………………………………………….

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น